ในพุทธกาล กาลที่พระพุทธเจ้าเผยแผ่พุทธศาสนา พวกพราหมณ์ถือว่ามีวรรณะสูงกว่าคนวรรณะอื่น
เวลาเจอหน้าใครก็มักใช้คำเรียกคุ้นปากว่า “คนถ่อย” วันหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จออกไปบิณฑบาต ถึงบ้านในซอย
คามนิคม กรุงสาวัตถี อัคคิกภารทวาชะ พราหมณ์ผู้บูชาไฟ เจ้าของบ้าน เจตนาจะใส่บาตร แต่ใช้คำเรียกว่า
“หยุดที่นั่นแหละ คนโล้น หยุดที่นั่นแหละ สมณะ หยุดที่นั่นแหละ คนถ่อย”
พระพุทธเจ้า เข้าใจเจตนากุศลของพราหมณ์...ทรงรับบาตรเรียบร้อยแล้ว ตรัสถาม
“พราหมณ์ ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยหรือ?”
“ไม่รู้มาก่อนเลย” พราหมณ์ตอบ “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี”
แล้วพระพุทธเจ้าก็เทศนาลักษณะของคนถ่อย 20 ประการ เริ่มแต่
คนผู้มักโกรธ...ผูกโกรธ มีมายา...พึงรู้ว่านั่นเป็นคนถ่อย
คนผู้เบียดเบียนสัตว์ ไม่มีความเอ็นดูสัตว์
คนผู้ลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน
คนผู้ข้าพเจ้า้หนี้แล้วไม่ใช้หนี้
คนผู้ฆ่าคนเดินทาง ชิงสิ่งของ
คนผู้เป็นพยานเท็จ
คนผู้ล่วงละเมิดในภรรยาของญาติ หรือเพื่อน
คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้เฒ่า
คนผู้ทุบตีบิดามารดา พี่ชายพี่สาว แม่ผัวพ่อผัว พ่อตาแม่ยาย
คนผู้ถูกถามถึงประโยชน์ แต่บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
คนผู้ทำชั่วแต่กลบเกลื่อน....
คนผู้ไปสู่สกุลอื่น...บริโภคของดีๆแล้ว ไม่ตอบแทนเขาเมื่อมาสู่สกุลตน
คนผู้ด่าสมณะและพราหมณ์
คนผู้ปรารถนาสิ่งเล็กน้อย พูดอวดสิ่งที่ไม่มี
คนผู้ยกตนดูหมิ่นผู้อื่น
คนผู้ฉุนเฉียว กระด้าง
คนผู้ตระหนี่ โอ้อวด
คนผู้ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัว
คนผู้ติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิต หรือคฤหัสถ์สาวกพระพุทธเจ้า
ข้อสุดท้าย...คนผู้ไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นเป็นคนถ่อย ต่ำช้า
เป็นโจรในโลกพร้อมพรหมโลก คนเหล่าใด ตถาคตประกาศแก่ท่านแล้ว คนเหล่านั้นนั่นแหล่ะ
ตถาคตกล่าวว่า เป็นคนถ่อย
ทรงสรุปว่า...บุคคลไม่ใช่เป็นคนถ่อย เพราะชาติตระข้าพเจ้าล มิใช่เป็นพราหมณ์ เพราะชาติตระข้าพเจ้าล
แต่เป็นคนถ่อย ก็เพราะกระทำความชั่ว เป็นพราหมณ์ เพราะกระทำความดี
ค้นหาบทเรียน
นักศึกษาที่ติดตามบทเรียน
๏ คราทีนั้นอัศจรรย์ก็หวั่นก็หวาด
ฝนประหลาดคลาดเคลื่อนสะเทือนสถาน
เกิดน้ำตมน้ำเตอะกะเบอะกะบาน
ทั้งขี้หมูขี้มาร ขะมอมขะแมม
๏ ไหลมารวมร่วมพันธุ์สมันสมิง
มีผักบุ้งรุ่งริ่ง กะหรอมกะแหรม
รอเวลาฟ้าใสกระไอกระแอม
ตลิ่งแคมสองข้างตะลังตะลึง
๏ ผุดพญาโคธาทวาธิวาส
เสพสมพาสผาดโผนทโมนถมึง
ดิ้นกระเดือกเสือกซอนกระดอนกระดึง
ต่างกอดรัดฟัดอึงคะนึงคะนอง
๏ ไม่อายผีอายเทวดาวะโด่
อ้ายกะโตเต่าหดสยดสยอง
กลางฟ้าดินกลางตาตะแกรงตะกรอง
ฤกษ์ตัวเงินตัวทองปฐมทัศน์
๏ ผสมเพศผสมพันธุ์ตะบันตะบวย
ผสมซวยกับกลีถนี่ถนัด
สุนิบาตปราดเปรี้ยงพะเนียงพนัส
เกิดวิบัติอัศจรรย์อนันต์คณา
๏ ตัว “สหัปมงคล” จะยลจะเยือน
มาขับเคลื่อนปีหนูฉลูถลา
อัปลักษณ์จักอุบัติสะพัดสภา
เป็นมหาอัปยศประชดไผท!
---------------------------------------
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
หมายเหตุ ๑ : "สหัปมงคล" คำของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช*
หมายเหตุ ๒ : ขอบคุณภาพประกอบจากศูนย์ภาพเนชั่น
http://www.oknation.net/blog/nowwarat/2008/02/10/entry-1
คนขี้อิจฉา...!
คนขี้อิจฉา (be jealous) หมายถึง คนที่มีความอยากและความปรารถนาที่จะได้ดีมากกว่าคนอื่น
และไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตนเอง และเมื่อไม่เป็นไปอย่างที่อยากให้เป็น
ก็เกิดอาการโกรธ เกลียด กลัว มืดมัว อ้างว้าง
บางคนมีอาการหนักถึงขนาดที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเองแล้วทนไม่ได้
ต้องหาทางทำลายหรือทำร้ายคนที่ตนเองอิจฉาริษยาให้ต้องมีเหตุย่อยยับไป
ดังนั้น คนขี้อิจฉาจึงเป็นคนที่น่ากลัวและมีปะปนอยู่มากมายในสังคม
หลายครั้งที่คนเหล่านี้สร้างปัญหาเปรียบเหมือนดังจุดไฟเผาคนรอบข้างและสังคมให้วอดวาย
ทำลายทุกอย่างได้เพราะเพียงใช้ใจที่คับแคบของตนเองเป็นตัวตัดสินทุกอย่างในชีวิต
เรามาดูกันว่า ลักษณะของคนขี้อิจฉาเป็นอย่างไรบ้าง
1. ชอบน้อยเนื้อต่ำใจ
คนขี้อิจฉาบางประเภทจะรู้สึกไม่มีความภูมิใจในตัวเอง
ส่วนใหญ่มักคิดว่าตนเองไม่เท่าเทียมหรือต่ำต้อยหรือด้อยกว่าผู้อื่น
โดยชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นจนเกิดเป็นทุกข์
เช่น คิดว่าทำไมเราถึงไม่สวยหรือไม่หล่อเหมือนดารา
ทำไมเราถึงไม่รวยเท่าเพื่อนๆ หรือทำไมเราถึงไม่เก่ง
ไม่มีความสามารถพิเศษที่โดดเด่นเหมือนคนนั้นคนนี้บ้าง
คนที่มีชอบน้อยเนื้อต่ำใจในตนเองมักจะเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนแอ
หากเป็นมากๆอาจส่งผลให้กลายเป็นคนที่มีปัญหาทางจิต
หรือมีปัญหาทางอารมณ์ เช่น มีอารมณ์โมโหร้ายรุนแรงหรือเป็นโรคซึมเศร้าได้
2. รู้สึกว่าตนมีปมด้อย
คนขี้อิจฉาอาจเกิดจากเพราะมีบาดแผลที่ฝังรากลึกมาจากการเลี้ยงดู
ของครอบครัวที่ไม่อบอุ่น พ่อแม่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ลูกเท่าที่ควรจะเป็น
หรือพ่อแม่ให้ความรักกับลูกไม่เท่ากันเพราะมีลูกหลายคน
โดยอาจจะรู้สึกรักลูกคนเล็กมากกว่าลูกคนโต รักและสนใจแต่ลูกผู้ชาย
หรือบางครอบครัวที่พ่อมีภรรยาหลายคนก็อาจจะรักลูกที่เกิดจากภรรยาคนหนึ่ง
มากกว่าลูกที่เกิดจากภรรยาคนอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้จึงส่งผลให้ลูกที่ไม่ได้รับความรักและการเอาใจใส่
รู้สึกว่าตนเป็นคนมีปมด้อยเพราะขาดความรัก ทำให้เป็นคนขี้อิจฉาริษยาได้
3. ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น
พฤติกรรมการแสดงออกอย่างหนึ่งของคนขี้อิจฉาก็คือมักเป็นคนที่มีปากอยู่ไม่สุข
โดยชอบหาเรื่องคนอื่นด้วยการพูดตำหนิติเตียนบ้าง นินทาว่าร้ายบ้าง
บางคนขี้อิจฉามากถึงขั้นแต่งเรื่องใส่ร้ายป้ายสี ใส่ความต่างๆนานา
เขียนบัตรสนเท่ห์ เขียนโจมตีทางเวปไซด์ เพื่อให้คนที่ตนเองอิจฉา
ได้รับความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียง
4. เป็นคนชอบเอาชนะ
คนที่มีนิสัยขี้อิจฉาส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่ชอบเอาชนะและแพ้ไม่เป็น
คนเหล่านี้ทนไม่ได้ที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเอง เช่น ในการเลื่อนตำแหน่ง
ในการเลือกตั้ง ในการสอบ ในการประกวด
ถ้าคนอื่นได้อะไรดีๆกว่าตนเอง คนที่มีนิสัยขี้อิจฉาก็จะทำทุกวิถีทาง
เพื่อจะให้ได้สิ่งนั้นมาเป็นของตนเองบ้างซึ่งอาจจะใช้วิธีสกปรก ไร้คุณธรรม
หรือใช้วิชามารต่างๆ หรือ “ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล”
คนขี้อิจฉามักจะไม่รู้ตัวว่าตนทำสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องบ้าง
หรือมักไม่ยอมรับในความผิดพลาดต่าง ๆ ของตนเอง
แต่ส่วนใหญ่จะคิดว่าถูกคนอื่นกระทำเสียมากกว่าแต่ไม่คิดถึงความบกพร่องของตนเองค่ะ
และไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตนเอง และเมื่อไม่เป็นไปอย่างที่อยากให้เป็น
ก็เกิดอาการโกรธ เกลียด กลัว มืดมัว อ้างว้าง
บางคนมีอาการหนักถึงขนาดที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเองแล้วทนไม่ได้
ต้องหาทางทำลายหรือทำร้ายคนที่ตนเองอิจฉาริษยาให้ต้องมีเหตุย่อยยับไป
ดังนั้น คนขี้อิจฉาจึงเป็นคนที่น่ากลัวและมีปะปนอยู่มากมายในสังคม
หลายครั้งที่คนเหล่านี้สร้างปัญหาเปรียบเหมือนดังจุดไฟเผาคนรอบข้างและสังคมให้วอดวาย
ทำลายทุกอย่างได้เพราะเพียงใช้ใจที่คับแคบของตนเองเป็นตัวตัดสินทุกอย่างในชีวิต
เรามาดูกันว่า ลักษณะของคนขี้อิจฉาเป็นอย่างไรบ้าง
1. ชอบน้อยเนื้อต่ำใจ
คนขี้อิจฉาบางประเภทจะรู้สึกไม่มีความภูมิใจในตัวเอง
ส่วนใหญ่มักคิดว่าตนเองไม่เท่าเทียมหรือต่ำต้อยหรือด้อยกว่าผู้อื่น
โดยชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นจนเกิดเป็นทุกข์
เช่น คิดว่าทำไมเราถึงไม่สวยหรือไม่หล่อเหมือนดารา
ทำไมเราถึงไม่รวยเท่าเพื่อนๆ หรือทำไมเราถึงไม่เก่ง
ไม่มีความสามารถพิเศษที่โดดเด่นเหมือนคนนั้นคนนี้บ้าง
คนที่มีชอบน้อยเนื้อต่ำใจในตนเองมักจะเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนแอ
หากเป็นมากๆอาจส่งผลให้กลายเป็นคนที่มีปัญหาทางจิต
หรือมีปัญหาทางอารมณ์ เช่น มีอารมณ์โมโหร้ายรุนแรงหรือเป็นโรคซึมเศร้าได้
2. รู้สึกว่าตนมีปมด้อย
คนขี้อิจฉาอาจเกิดจากเพราะมีบาดแผลที่ฝังรากลึกมาจากการเลี้ยงดู
ของครอบครัวที่ไม่อบอุ่น พ่อแม่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ลูกเท่าที่ควรจะเป็น
หรือพ่อแม่ให้ความรักกับลูกไม่เท่ากันเพราะมีลูกหลายคน
โดยอาจจะรู้สึกรักลูกคนเล็กมากกว่าลูกคนโต รักและสนใจแต่ลูกผู้ชาย
หรือบางครอบครัวที่พ่อมีภรรยาหลายคนก็อาจจะรักลูกที่เกิดจากภรรยาคนหนึ่ง
มากกว่าลูกที่เกิดจากภรรยาคนอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้จึงส่งผลให้ลูกที่ไม่ได้รับความรักและการเอาใจใส่
รู้สึกว่าตนเป็นคนมีปมด้อยเพราะขาดความรัก ทำให้เป็นคนขี้อิจฉาริษยาได้
3. ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น
พฤติกรรมการแสดงออกอย่างหนึ่งของคนขี้อิจฉาก็คือมักเป็นคนที่มีปากอยู่ไม่สุข
โดยชอบหาเรื่องคนอื่นด้วยการพูดตำหนิติเตียนบ้าง นินทาว่าร้ายบ้าง
บางคนขี้อิจฉามากถึงขั้นแต่งเรื่องใส่ร้ายป้ายสี ใส่ความต่างๆนานา
เขียนบัตรสนเท่ห์ เขียนโจมตีทางเวปไซด์ เพื่อให้คนที่ตนเองอิจฉา
ได้รับความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียง
4. เป็นคนชอบเอาชนะ
คนที่มีนิสัยขี้อิจฉาส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่ชอบเอาชนะและแพ้ไม่เป็น
คนเหล่านี้ทนไม่ได้ที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเอง เช่น ในการเลื่อนตำแหน่ง
ในการเลือกตั้ง ในการสอบ ในการประกวด
ถ้าคนอื่นได้อะไรดีๆกว่าตนเอง คนที่มีนิสัยขี้อิจฉาก็จะทำทุกวิถีทาง
เพื่อจะให้ได้สิ่งนั้นมาเป็นของตนเองบ้างซึ่งอาจจะใช้วิธีสกปรก ไร้คุณธรรม
หรือใช้วิชามารต่างๆ หรือ “ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล”
คนขี้อิจฉามักจะไม่รู้ตัวว่าตนทำสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องบ้าง
หรือมักไม่ยอมรับในความผิดพลาดต่าง ๆ ของตนเอง
แต่ส่วนใหญ่จะคิดว่าถูกคนอื่นกระทำเสียมากกว่าแต่ไม่คิดถึงความบกพร่องของตนเองค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)