ในพุทธกาล กาลที่พระพุทธเจ้าเผยแผ่พุทธศาสนา พวกพราหมณ์ถือว่ามีวรรณะสูงกว่าคนวรรณะอื่น
เวลาเจอหน้าใครก็มักใช้คำเรียกคุ้นปากว่า “คนถ่อย” วันหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จออกไปบิณฑบาต ถึงบ้านในซอย
คามนิคม กรุงสาวัตถี อัคคิกภารทวาชะ พราหมณ์ผู้บูชาไฟ เจ้าของบ้าน เจตนาจะใส่บาตร แต่ใช้คำเรียกว่า
“หยุดที่นั่นแหละ คนโล้น หยุดที่นั่นแหละ สมณะ หยุดที่นั่นแหละ คนถ่อย”
พระพุทธเจ้า เข้าใจเจตนากุศลของพราหมณ์...ทรงรับบาตรเรียบร้อยแล้ว ตรัสถาม
“พราหมณ์ ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยหรือ?”
“ไม่รู้มาก่อนเลย” พราหมณ์ตอบ “ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี”
แล้วพระพุทธเจ้าก็เทศนาลักษณะของคนถ่อย 20 ประการ เริ่มแต่
คนผู้มักโกรธ...ผูกโกรธ มีมายา...พึงรู้ว่านั่นเป็นคนถ่อย
คนผู้เบียดเบียนสัตว์ ไม่มีความเอ็นดูสัตว์
คนผู้ลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน
คนผู้ข้าพเจ้า้หนี้แล้วไม่ใช้หนี้
คนผู้ฆ่าคนเดินทาง ชิงสิ่งของ
คนผู้เป็นพยานเท็จ
คนผู้ล่วงละเมิดในภรรยาของญาติ หรือเพื่อน
คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้เฒ่า
คนผู้ทุบตีบิดามารดา พี่ชายพี่สาว แม่ผัวพ่อผัว พ่อตาแม่ยาย
คนผู้ถูกถามถึงประโยชน์ แต่บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
คนผู้ทำชั่วแต่กลบเกลื่อน....
คนผู้ไปสู่สกุลอื่น...บริโภคของดีๆแล้ว ไม่ตอบแทนเขาเมื่อมาสู่สกุลตน
คนผู้ด่าสมณะและพราหมณ์
คนผู้ปรารถนาสิ่งเล็กน้อย พูดอวดสิ่งที่ไม่มี
คนผู้ยกตนดูหมิ่นผู้อื่น
คนผู้ฉุนเฉียว กระด้าง
คนผู้ตระหนี่ โอ้อวด
คนผู้ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัว
คนผู้ติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิต หรือคฤหัสถ์สาวกพระพุทธเจ้า
ข้อสุดท้าย...คนผู้ไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นเป็นคนถ่อย ต่ำช้า
เป็นโจรในโลกพร้อมพรหมโลก คนเหล่าใด ตถาคตประกาศแก่ท่านแล้ว คนเหล่านั้นนั่นแหล่ะ
ตถาคตกล่าวว่า เป็นคนถ่อย
ทรงสรุปว่า...บุคคลไม่ใช่เป็นคนถ่อย เพราะชาติตระข้าพเจ้าล มิใช่เป็นพราหมณ์ เพราะชาติตระข้าพเจ้าล
แต่เป็นคนถ่อย ก็เพราะกระทำความชั่ว เป็นพราหมณ์ เพราะกระทำความดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น