การทำข้อสอบ Reading passage
การทำข้อสอบ Reading passage
ในการทำข้อสอบ Reading และ Cloze Test ที่แน่นอนที่สุดนักเรียนต้องรู้ศัพท์ในระดับหนึ่งที่ นักเรียนม.ปลายควร ทราบที่สำคัญ คนอ่านเก่ง - นักคาดการณ์ : กล้าคิด กล้าเดาโดยใช้เหตุผล / ตรรกศาสตร์ โดยทั่วไปธรรมชาติของนักเรียนหรือนักพูดที่ชำนาญการจะใช้ประโยคแรกในการจูงใจให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังติดตามฉะนั้น Paragraph แรก และประโยคแรก จึงมักเป็นประโยคกุญแจเปิดสู่เนื้อหาต่อไป
อย่าแปลเป็นตัวๆ
1. การแปลแบบทื่อๆ เหมือนภาพสี่เหลี่ยมแบนๆ
2. การแปลพร้อมความหมายแฝง เหมือนภาพสี่เหลี่ยม 2 มิติ
3. ถ้าการแปลนั้นประกอบด้วยการตีความแบบนักวิเคราะห์ เหมือนภาพสี่เหลี่ยม 3 มิติ
ระหว่างแปล พยายามวงคำที่เราคิดว่าเป็น Key Word โดยสังเกตได้จากเนื้อเรื่องที่อ่านจะสนับสนุนคำๆ นั้น
วิเคราะห์แนวคำถามข้อสอบ Reading Passages
ใน Reading Passages แต่ละเรื่องแม้ว่าจะมีคำถามหลายข้อ แต่สามารถจัดหมวดหมู่ที่ผู้ออกข้อสอบต้องการประเมิน ความรู้เราได้กว้างๆ 5 หัวข้อ
1. Main Idea : คำถามที่ถามถึงความคิดหลักของประโยคหรือบางทีถามถึงชื่อเรื่อง Title ทุกครั้งที่อ่านเนื้อเรื่องจึงต้อง หมั่นหา key word หรือ คำ วลี หรือประโยคซ้ำๆ กรุณาอย่าลืมความสำคัญของ paragraph แรกโดยเฉพาะประโยคแรกซึ่งมักจะ สื่อความคิดหลักของเนื้อเรื่องให้กับผู้อ่าน
2. Reference : การอ้างอิง ข้อสอบมักจะถามว่า "he", "she", "it" (line 1) refers to... อ้างถึงอะไร วิธีการตอบคำถาม นี้คือให้เราถาม ตัวเองว่า Pronoun (สรรพนาม) นั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ถ้าเป็นเอกพจน์ให้นักเรียนกวาดสายตาไปประโยค ข้างหน้าและหานามเอกพจน์ ที่ใกล้ Pronoun มากที่สุด ถ้ามี 2 ตัวใกล้ๆ กันให้นำมาพิจารณาแปลดูว่าคำให้ประโยคมีความหมาย ดีกว่ากันให้เลือกคำนั้น
3. Inference : การสรุป ในการอ่านขั้นวิเคราะห์หรือสรุปความนั้น นักเรียนที่แปลศัพท์เก่งอย่างเดียวใช่ว่าจะแปลข้อความ นั้นๆ รู้เรื่อง แต่เรา ต้อง ฝึกคิดใช้สามัญสำนึกหรือ common sense ในการคาดเดา หัดอ่าน หัดแปล หัดเดา โดยฝึกจากบทอ่าน ภาษาไทย เมื่อฟังผู้ใดพูดอะไรก็ หัดคาด เดาว่า ประโยค ต่อไปจะเป็นอะไร เมื่อฝึกอ่านเองก็ฝึกคิดว่าย่อหน้าต่อไปผู้เขียนต้องการ พูดอะไร คาดเดา ถูกบ้างผิดบ้างไม่ต้องหมด กำลังใจ แต่เรา จะค่อยๆ เริ่มเรียนรู้ มิใช่ เพราะเราขาดทักษะหรือการฝึกฝน เปรียบเหมือนมีด เนื้อดีแต่ไม่หมั่นลับ พอซื้อหนังสือรวมเฉลยข้อสอบเอนทรานซ์มาอ่าน ทำถูกก็ดีใจ แต่ไม่ทราบว่าอาจตอบ ถูกโดยบังเอิญก็ได้ เพราะเรากำลังอ่านเพื่อไป check choice อย่างเดียว ฉะนั้นในการสรุปความเราควรฝึกสรุป ทุกย่อหน้า แม้ว่า ข้อสอบไม่ได้ถาม ก็ตาม เช่นเดียวกัน Pronoun นักเรียนควรฝึกหาว่า Pronoun นั้นๆ หมายถึงคำไหน เมื่อเราฝึกจนเคยชินเราจะ อ่านบทความ เข้าใจอย่างรู้จริง
4. Detail : รายละเอียด ข้อสอบส่วนใหญ่จะวัดความจำกับความเข้าใจเชิงวิเคราะห์ตามหลักการออกข้อสอบ ข้อสอบวัด รายละเอียดเป็นข้อ- สอบที่จัดว่าง่าย เช่น คำถามจะวัดความเข้าใจในเนื้อเรื่องว่า อะไร ที่ไหน อย่างไร ใคร ข้อสอบวัดรายละเอียดเป็น ข้อสอบที่ยากเมื่อถูกจำกัดด้วย เวลาและยิ่งอยู่ ู่ในการวัด ผลการเรียน ต่อในสถาบันอุดมศึกษา เราจะมีความกังวลทำให้จำอะไรไม ่ค่อยได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องฝึกทำ ข้อสอบ มากๆ วิธีที่ช่วยให้ ้เราประหยัด เวลาและอ่านอย่างมีจุดหมายได้ดีที่สุด คือ การอ่าน คำถามพร้อมขีดเส้นใต้คำที่สำคัญๆ ก่อนอ่านเนื้อเรื่อง ข้อสำคัญ คือในการฝึกอ่านเบื้องต้น เราไม่ควรจำกัดเวลาตัวเอง ควรรู้จริงโดย การหาประธานหากริยาแท้ให้ได้ หา Pronoun ได้ รู้จักใช้คำเชื่อม หรือคำสันธานเป็น ตัวชี้แนะ รู้จักสรุปในแต่ละ ย่อหน้า รู้จัก เชื่อมโยง ข้อสรุปในแต่ละย่อหน้า ควรฝึกจนชำนาญ แล้วจึงเริ่มจับเวลาในการอ่าน อย่าลืมว่าทำข้อสอบเก่งอย่างเดียวไม่พอต้อง เร็วด้วย เราจึง ควรใช้ ปากกาหรือดินสอขีดเขียนในเนื้อเรื่องเพื่อง่ายต่อการย้อน กลับมาอ่านใหม่ และควรใส่เลขหน้าข้อคำถามลงใน เนื้อเรื่องเพื่อเป็นการรักษาเวลา
5. Vocabulary in context : คำศัพท์ที่ปรากฏในบริบทหรือข้อความข้างเคียง คำศัพท์ที่อยู่ในข้อสอบ ผู้ออกข้อสอบ มิได้เจตนา วัดความสามารถในการจำคำศัพท์ของเรา หากแต่ต้องการดูความสามารถในการอ่านว่า เราสามารถใช้ข้อความข้างเคียง มาตัดสินความหมายของคำนั้นๆ ได้ไหม เพราะนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนต้องมีทักษะในการตีความของคำศัพท์เมื่อเรา อ่าน ตำราภาษาอังกฤษ (text) ฉะนั้นจึงเห็นว่าคนที่อาจเรียนอังกฤษไม่เก่งแต่เวลาอ่านกลับเข้าใจได้มากกว่า คนที่แม่นทั้งไวยากรณ ์และ คำศัพท์ เพราะคนผู้นั้นมีความรู้เก่าหรือภูมิหลัง (background) ในเรื่องที่อ่านนั้นๆ จึงคาดการณ์หรือคาดเดาได้ง่ายดายกว่า
ฉะนั้นอย่ามองว่าข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยยาก เพียงแต่เราต้องเรียนให้ถูกวิธีตั้งแต่แรก การเรียนภาษาอังกฤษต้องค่อยๆ สะสม ฝึกปรือ มีความสนใจใฝ่รู้มิใช่จะสอบที่ก็มานั่งอ่านที ภาษาอังกฤษก็จะกลายเป็นเรื่องซับซ้อนและมีกฏเกณฑ์มากมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงเวลาเรา เรียนภาษาไทย เราพู้ภาษาไทยได้โดยไม่ต้องเรียนไวยากรณ์ก่อน การเรียนแบบธรรมชาติเช่นนี้เรียกว่า การเรียนแบบค่อยๆ รับเข้ามาโดยโยงเข้ากับประสบการณ์จริง (acquisition) มิใช่เป็นการเรียนแบบในห้องเรียน (learning) ที่ขาดแรงจูงใจให้อยากใฝ่เรียนใฝ่รู้ทันทีที่ออกนอกห้อง
เทคนิคการอ่านเพื่อทำข้อสอบในเวลาที่กำหนด
1. อ่านหัวเรื่องที่ผู้เขียนให้มา และจดจำไว้ว่าหัวเรื่องที่ทำให้เราทราบว่าเรากำลังจะอ่านเรื่องอะไร
2. อ่านคำถามและ choice แรกพร้อมขีดเส้นใต้คำที่เราคิดว่าสำคัญ โดยคำนึงถึงการรักษาเวลา ยิ่งเราจำคำถามได้แม่นยำเท่าไร เมื่อนักเรียนอ่านในเนื้อเรื่อง เราก็จะพบคำที่ปรากฏอยู่ในคำถามซึ่งทำให้เราสามารถกลับมาตอบคำถามได้ทันที คำถามข้อแรกๆ จะอยู่ในย่อหน้าแรกๆ คำถามกลางๆ จะอยู่ในย่อหน้ากลางๆ ส่วนคำถามท้ายๆ จะอยู่ในย่อหน้าท้ายๆ การอ่าน คำถามและ choice แรกจะทำให้เราสรุปความคิดกว้างๆ ได้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร
3. เขียนเลขข้อคำถามลงในเนื้อเรื่อง หรือหน้าย่อหน้าที่คำถามนั้นถามถึงเพื่อเป็นการทำข้อสอบให้ได้ทันเวลา
4. จำไว้ว่าภาษามีความฟุ่มเฟื่อย ซ้ำๆ เราจึงไม่จำเป็นจะต้องแปลให้ได้ทุกคำ ในระหว่างอ่านควรนำความรู้พื้นฐานทั่วไปมาใช้ในการ พยากรณ์เนื้อเรื่องหรือฝึกสวมบทบาทว่าถ้าเราเป็นผู้เขียนเราต้องการสื่ออะรให้ผู้อ่านรับทราบ
5. ย่อหน้าแรกและประโยคแรกสำคัญมากและมักจะเป็น main idea หรือความคิดหลักของเรื่อง (แต่ไม่แน่เสมอไป) เมื่ออ่านเสร็จ ให้ลองฝึกสวมบทบาทดูว่าถ้าเราเป็นผู้เขียนเราจะเขียนหรือสื่ออะไรให้ผู้อ่าน เรื่องบางเรื่องสามารถใช้สามัญสำนึก ( common sense ) แต่งเรื่องเองได้ แต่เราถูกฝึกให้แปลมากกว่าให้วิเคราะห์จะทำให้เราสะดุดอยู่ในขั้นพยายามแปลโดยไม่นำความรู้พื้นฐาน ของเรามาใช้
6. สรุปแต่ละย่อหน้าและเชื่อมโยงแต่ละย่อหน้าเข้าด้วยกันจะเห็นว่าคำถามเกี่ยวกับ main idea ( ความคิดหลักของเรื่อง) และ purpose ( วัตถุประสงค์ในการเขียนเรื่อง ) จะหาได้ถ้านักเรียนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของความคิดหลักในแต่ละย่อหน้า เข้าด้วยกัน
7. ทุกครั้งที่พบคำสรรพนาม ( pronoun ) ต้องฝึกนิสัยคอยถามตัวเองว่าคำสรรพนามนี้หมายถึง ( refer to ) อะไรโดยตอบคำถาม ก่อนว่าคำสรรพนามนั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ถ้าคำสรรพนามนี้เป็นเอกพจน์ ให้กวาดสายตาไปประโยคที่นำหน้ามาก่อนและหา คำเอกพจน์ที่ใกล้คำสรรพนามนั้นมากที่สุด ถ้ามีตัวเดียวก็นำมาตัวเดียว ถ้ามี 2 ตัวให้นำมาพิจารณาด้วยการแปลดูว่าตัวไหน เหมาะสมมากกว่ากัน
8. คำใดปรากฏซ้ำๆ มักจะมีความสำคัญหรือไม่ก็เป็น main idea ของย่อหน้านั้นๆ หรือของเรื่องนั้นๆ