twitter
rss

ค้นหาบทเรียน

นักศึกษาที่ติดตามบทเรียน

การใช้ Prefix

Prefix แปลว่า อุปสรรค ได้แก่ คำที่ใช้เติมหน้าคำอื่น เพื่อให้ความหมายคำนั้นเปลี่ยนไป แต่ไม่เปลี่ยนชนิดของคำนั้น ตัวอย่างเช่น polite เป็นคำคุณศัพท์ เติมอุปสรรค im ลงไปเป็น impolite ก็ยังคงเป็นคำคุณศัพท์อยู่ตามเดิม (แต่ความหมายเปลี่ยนไปตรงกันข้าม) ยกเว้นอุปสรรค en ,em เท่านั้นที่ทำให้คำนั้นกลายเป็นกริยา คือ เปลี่ยนชนิดไป

Prefix แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของคำที่ใช้นำหน้าคือ ;
1. ชนิดที่เติมข้างหน้าแล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้ามได้แก่ un- , dis-, in-, im-, non-, etc. เป็นต้น
2. ชนิดที่เติ่มข้างหน้าแล้ว ทำให้คำนั้นเป็นกริยาขึ้นทาได้แก่ en-, em-
3. ชนิดที่เตมลงไปข้างหน้าแล้ว มีความหมายแตกต่างกัน ซึ่งผู้ศึกษาต้องจดจำเป็นตัวๆไป ได้แก่ co-, re-,supper-,etc. เป็นต้น

1.1 prefix (อุปสรรค) ที่เติมหน้าคำใด แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายตรงกันข้าม หรือ มีความหมายเป็นปฎิเสธ (negative prefit) ได้แก่
un-,dis-,in- (ร่วมทั้ง im-,il-,ir-)
non-,mis-, เป็นต้น
ซึ่งแต่ละตัวใช้เติมหน้าคำได้ดังต่อไปนี้


Un- (ไม่) โดยปกติใช้เติมหน้าคำคุณศัพท์ (Adjective) เช่น ;,


Dis- (ไม่) ใช้เติมข้างหน้ากริยา (Verb) บ้าง , หน้าคำนาม (none) บ้าง, หน้าคุณศัพท์ (adjective) บ้าง เช่น;


In-, (im-, il-, ir ) (ไม่) ใช้เติมข้างหน้าคำคุณศัพท์เท่านั้น แต่จะใช้อุปสรรคตัวไหนเติม มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ;
= ใช้ im- เติม เมื่อคุณศัพท์ตัวนั้นขึ้นด้วยพยัญชนะ b, m, p เช่น ;-


= ใช้ il- เติม เมื่อคุณศัพท์ตัวนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ 1 เช่น ;-




= ใช้ ir เติม เมื่อคุณศัพท์ตัวนั้นขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ r เช่น;


ใช้ in- เติม เมื่อคุณศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะนอกจากที่กล่าวมาแล้ว เช่น ;-




Non- (ไม่) อุปสรรคคำนี้มักจะใช้เป็นคำศัพท์ทางวิชาการ ( technical Word) เสียมากกว่า ใช้เติมหน้าคำนามบ้าง คุณศัพท์บ้าง เช่น ;-
หมายเหตุ ; แต่เดิมอุปสรรค non- เมื่อใช้เติมหน้าคำมักใช้ hyphen มาคั่น เช่น; partisan non-partisan (ถือพรรคพวก-ไม่ถือพรรคพวก) แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมใช้ hyphen มาขั้นแล้ว

Mis(มิส) อุปสรรคตัวนี้ไม่ทำให้ความหมายตรงกันข้ามเหมือนตัวอื่น แต่ใช้ในความหมายว่า “ผิด, ไม่ถูกต้อง” ใช้เติมข้างหน้ากริยาเท่านั้น เช่น;-


2.2 Prefix ที่เติมหน้าคำใดๆ แล้วทำให้คำนั้นๆกลายเป็นกริยาขึ้นมาได้แก่ en หรือ em ซึ่งมีหลักการเติมดังนี้
En (ทำให้เป็นเช่นนั้น,ทำให้กลายเป็น) ใช้เติมข้างหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะทั่วไป เช่น;


3.3 Prefix ที่ใช้เติมข้างหน้าคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไปเป็นตัวๆได้แก่ prefix ต่อไปนี้ :-

Ante- (แอนทิ) มีความหมายเท่ากับ “ก่อน,แรก,ก่อนถึง” เช่น


Over- (โอเวอร์) มีความหมายเท่ากับ “มากเกินไป” ใช้เติมหน้าคำกริยาเท่านั้น เช่น:-


Suffix


Suffix แปลว่า “ปัจจัย” ได้แก่ “คำหรือพยางค์ที่เติมลงไปท้ายคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นเปลี่ยนชนิดไป” ยกตัวอย่างเช่น man เป็นคำนาม(noun) แปลว่า ผู้ชาย เมื่อเติม ly ลงไปที่ท้าย man เป็นmanly ก็จะกลายเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective)ไป แปลว่า มีลักษณะสมเป็นชาย เพราะฉะนั้นคำที่เติม suffif ลงไปนั้นม่เปลี่ยนความหมาย แต่เปลี่ยนชนิดของคำ

Suffif ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 3 จำพวกตามชนิดของคำที่เปลี่ยนไปอันเป็นผลจากการเติม แล้วคือ:-
1) Noun-Forming Suffixes ได้แก่ “ปัจจัยที่เติมท้ายคำอื่น แล้วทำให้คำนั้นกลับกลายเป็นคำนามขึ้นมา” ได้แก่

-ment -ee,-e -ism,-ist
-tion -an,-n -ty,-ity
-ation -ant -ness
-ition -ent -y,-ery
-ification -er,-or -ing
-sion -est -dom
-al -ess -hood
-ance,-ence -ure -ship

-ment ใช้เติมหลังคำกริยา เพื่อทำกริยาตัวน้นให้เป็นคำนาม และให้ออกเสียง”เมนท์” เบาๆ
ตัวอย่าง:-:-

** Verb noun
Amuse ทำให้สนุกสนาน amusement ความสนุกสนาน
Achieve สัมฤทธิ์ผล achievement ความสัมฤทธิ์ผล
Govern ปกป้อง government การปกครอง
Argue โต้แย้ง argument การโต้แย้ง
Agree เห็นด้วย agreement ข้อตกลง
Develop พัฒนา development การพัฒนา

-ition ใช้เติมท้ายคำกริยา เพื่อให้คำนาม และส่งเสียงหนักที่พยางค์ก่อน –ition (คือลงเสียงหนักที่ “อี(i)(เสมอ)
ตัวอย่าง:-

Verb noun
Compete แข่งขัน competition การแข่งขัน
Expose แสดง,เปิดเผย exposition การแสดง
Repeat ซ้ำ repetition การกระทำซ้ำ

2) Ver-Forming Suffixes ได้แก่ “ปัจจัย (หรือ Suffix) ที่เติ่มลงไปข้างท้ายคำแล้วทำให้คำนั้นเป็นกริยา(verb) ข้ำนมา” ได้แก่ปัจจัยต่อไปนี้คือ:-

-ate -ize
-en -s,-es
-ify -ed

-ate ใช้เติมท้ายคำนาม เพื่อทำให้คำนั้นเป็นคำกริยา
ตัวอย่าง:-

Noun verb
Captive นักโทษ captivate จับตัว,ยั่วยวน 
Origin ที่เกิด originate เริ่มต้น
Motive แรงกระตุ้น motivate กระตุ้น 
Facility ความสะดวกสบาย facilitate ทำให้เกิดความสบาย 

อนึ่ง-en ยังใช้เติมหลัง Abstract noun ที่แปลงรูปมาจากคุณศัพท์ให้ด้วย เพื่อให้คำ Abstractnoun นั้นเป็นคำกริยา เช่น;

Adjective Abstract noun verb
Long = ยาว length = ความยาว lenghten = ทำให้สูง
High = สูง height = ความสูง heighten = ทำให้ยาว




3.3) Adjective-Forming Suffixes ได่แก่ “ปัจจัยที่เติมท้ายคำใดแล้ว ทำให้คำนั้นมีรูปคุณศัพท์ (Adjective)” ได้แก่ปัจจัยต่อไปนี้:-
-able,-ible -en,-n -less
-al,-ial -er,-r,-est,-st -like
-an,-n -ese -ly
-ant,-ent -fold -most
-ary,-ory -ful -y
-ous -ing -some
-ative -ish -word
-ed -ive,-ative -ular

-ant,-ent ใช้เติมหลังกริยา เพื่อให้คำคุณศัพท์
ตัวอย่าง:-

Verb Adjective
Reside อาศัยอยู่ resident ผู้อาศัยอยู่ 
Ignore เพิกเฉย ignorant โง่เขลา
Differ แตกต่าง different ต่างจาก
Indulge มั่วสุมอยู่กับ indulgent ซึ่งตามใจ

-ary,-ory ใช้เติมท้ายคำนามบ้าง ท้ายคำกริยาบ้าง เพื่อให้เป็นคุณศัพท์(Adjective) เช่น;
Noun Adjective
Discipline(n) วินัย disciplinary เกี่ยวกับวินัย
Advisre(v) แนะนำ advisory เป็นคำตักเตือน
Prime แรก primary เบื่องต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น